Loading...

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโยีการอาหารเบื้องต้น

กอ. 211 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเบื้องต้น 3 หน่วยกิต
FD 211 Introduction to Food Science and Technology

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร แหล่งอาหารและความต้องการอาหารของมนุษย์ ส่วนประกอบของอาหาร การเน่าเสียของอาหาร สมบัติและการเปลี่ยนแปลงของอาหาร ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย หลักการและวิธีการถนอมและแปรรูปอาหาร เช่น การใช้ความร้อน การใช้ความเย็น การทำแห้ง การใช้รังสี การใช้พลังงานไมโครเวฟ การใช้สารเคมี การหมักดอง เป็นต้น การควบคุมคุณภาพอาหาร การประเมินผลคุณภาพอาหาร ภาชนะบรรจุ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสุขาภิบาลอาหาร
(บรรยายสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 212 กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับอาหาร 2 หน่วยกิต
FD 212 Food Laws and Regulations

พระราชบัญญัติอาหารและการควบคุม ข้อบังคับเกี่ยวกับการผลิตอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และป้องกันการปลอมปนของอาหารหรืออาหารด้อยคุณภาพ การควบคุมฉลากโภชนาการและการโฆษณา ข้อตกลงขององค์กรการค้าโลก การดำเนินการของสมัชชาโคเด็กซ์ว่าด้วยมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ 
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง) 

กอ. 311 การประกันคุณภาพอาหาร 3 หน่วยกิต
FD 311 Food Quality Assurance

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ กอ. 321 และ คม. 227
ความหมายและความสำคัญของคุณภาพและการประกันคุณภาพ ปัจจัยคุณภาพและการตรวจวัดคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลชีววิทยา และประสาทสัมผัส เทคนิคทางสถิติสำหรับการควบคุม คุณภาพ ความรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพต่างๆ ที่นำมาใช้ประกันคุณภาพอาหาร โดยเฉพาะระบบ GMP, HACCP และ ISO มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 321 จุลชีววิทยาทางอาหาร 4 หน่วยกิต
FD 321 Food Microbiology

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ทช. 201 
สมบัติและนิสัยการเจริญของจุลินทรีย์ในอาหาร แหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของจุลินทรีย์ การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอาหาร การจำแนกชนิดของจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ และจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ผลของกรรมวิธีการผลิตต่อจุลินทรีย์ วิธีการตรวจสอบและการจำแนกที่เป็นวิธีมาตรฐานตาม AOAC การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในระดับโมเลกุล เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ และวิธีการของ Rapid Methods ซึ่งอาศัยเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ได้มีการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 
(บรรยายสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 341 การแปรรูปอาหาร 1 3 หน่วยกิต
FD 341 Food Processing 1

วิชาบังคับก่อน : ได้รับอนุมัติจากผู้บรรยาย
การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว วัตถุดิบและการจัดการขั้นต้น เช่น การคัดแยก การทำความสะอาด การตัดแต่ง การลวก ฯลฯ เทคนิคการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น เช่น การผสม การโฮโมจีไนซ์ การกรอง การสกัด การตกผลึกและการแยกผลึก ฯลฯ สมบัติของน้ำใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และบทบาทของเทคโนโลยีสะอาดในอุตสาหกรรมอาหาร มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ 
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 342 การแปรรูปอาหาร 2 3 หน่วยกิต
FD 342 Food Processing 2

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ กอ. 341 
หลักการพื้นฐานของการถนอมและการแปรรูปอาหารได้แก่ การแปรรูปด้วยความร้อน การแช่เย็นและการแช่แข็ง การทำแห้ง การทำให้เข้มข้น การฉายรังสี การใช้พลังงานไมโครเวฟ การหมัก การใช้สารเคมีเพื่อการถนอมและการแปรรูปอาหาร ปัจจัยการแปรรูปด้วยวิธีการข้างต้นที่มีผลต่อคุณภาพและการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ พัฒนาการของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 343 วิศวกรรมอาหาร 1 2 หน่วยกิต
FD 343 Food Engineering 1

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา คม.236 
หน่วยและมิติ สมดุลมวลสาร สมดุลพลังงานและความร้อน เทอร์โมไดนามิกส์ การถ่ายเทความร้อนและมวลสาร และกลศาสตร์ของของไหล 
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง)

กอ. 344 วิศวกรรมอาหาร 2 3 หน่วยกิต
FD 344 Food Engineering 2

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ กอ. 343 
การนำหลักวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในกระบวนการแปรรูปอาห าร เช่น การใช้ความร้อน การแช่เย็นและการแช่แข็ง การทำแห้ง การทำให้เข้มข้น การลดขนาด การสกัด การกลั่น การกรองแยก ฯลฯ
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 371 เคมีอาหาร 1 3 หน่วยกิต
FD 371 Food Chemistry 1
 
วิชาบังคับก่อน : สอบได้ คม.227 
องค์ประกอบและคุณสมบัติทางเคมีของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และรงควัตถุ การวิเคราะห์องค์ประกอบของอาหาร การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและชีวเคมีขององค์ประกอบเหล่านี้ที่มีความสำคัญต่อการแปรรูปอา หารและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมถึงศึกษากลไกของปฏิกิริยาสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอาหาร
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 372 เคมีอาหาร 2 3 หน่วยกิต
FD 372 Food Chemistry 2

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ กอ. 371 
โครงสร้างและปฏิกิริยาเคมีของสารที่ใช้ในการปรุงแต่งสี กลิ่น รส ในอาหารและวัตถุเจือปนในอาหาร สารเคมีที่ใช้เพื่อช่วยในการแปรรูปอาหาร อันตรายทางเคมี ทฤษฎีและหลักการของการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือชั้นสูง เช่น สเปกโตรเมตรี, ฟลูออเมตรี อะตอมมิคแอปซอร์ปชัน แก๊สโครมาโตกราฟฟี และเครื่องแยกวิเคราะห์สารละลายความดันสูง รวมถึงเทคนิคและการประยุกต์ใช้ของเครื่องมือเหล่านี้ในการวิเคราะห์อาหาร สารปรุงแต่งและสารเจือปน วิทยาการสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเคมีอาหาร
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 373 อาหารและโภชนาการ 3 หน่วยกิต
FD 373 Food and Nutrition
 
วิชาบังคับก่อน : สอบได้ กอ. 371
การเปลี่ยนแปลงของอาหารเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ความต้องการสารอาหารและพลังงานของบุคคลตามเพศ วัยการประกอบอาชีพ และพยาธิสภาพของร่างกาย อิทธิพลทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมการบริโภคที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโภชนาการ ปัญหาทางโภชนาการและวิธีการแก้ไขโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางอาหาร ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ เงื่อนไขและกฎระเบียบทางการค้าในการแสดงคุณค่าทางโภชนาการบนฉลากอาหาร (Nutritional Labeling) และการอ้างสรรพคุณ 
(บรรยายสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโยีการอาหารขั้นสูง

กอ. 416 การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของอาหาร 3 หน่วยกิต
FD 416 Sensory Evaluation of Foods

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา ส.338
บทบาทและความสำคัญของการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสต่ออุตสาหกรรมอาหาร ลักษณะทางประสาทสัมผัสและการรับรู้ทางประสาทสัมผัส การดำเนินการทดสอบทางประสาทสัมผัส ปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส การคัดเลือกและฝึกฝนผู้ทดสอบ วิธีการทดสอบทางประสาทสัมผัสแบบต่างๆ ซึ่งรวมถึง การทดสอบความแตกต่าง การทดสอบการยอมรับ และการทดสอบเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการทดสอบทางประสาทสัมผัส การรายงานผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 421 การสุขาภิบาลสำหรับผู้ผลิตอาหาร 2 หน่วยกิต
FD 421 Sanitation for Food Manufacturers

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ กอ.311 
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจุลินทรีย์และการควบคุม กลไกการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ การจำแนกสารทำความสะอาดและสารฆ่าเชื้อ การออกแบบและวางผังโรงงานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายในโรงงาน การเลือกใช้วัสดุในการออกแบบก่อสร้างที่ถูกหลักการสุขาภิบาลอาหาร การออกแบบและการสุขาภิบาลเครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะบรรจุอาหาร การสุขาภิบาลพาหนะและอุปกรณ์เคลื่อนย้ายอาหาร การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การจัดการน้ำใช้ในโรงงานและการจัดการของเสีย การเขียนคู่มือการสุขาภิบาลอาหาร มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง)

กอ. 426 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อาหารหมัก 3 หน่วยกิต
FD 426 Food Fermentation Technology

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.321 หรือ ทช.201
เทคโนโลยีการหมักอาหาร และเทคนิคการหมักอาหารประเภทต่างๆ เช่น การหมักเบียร์ ไวน์ กรดอะมิโน เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำส้มสายชู และการทำให้บริสุทธิ์ จนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่เพิ่มมูลค่า การคำนวณเศรษฐศาสตร์ของกระบวนการผลิต การควบคุมความต่อเนื่องของกระบวนการหมัก กระบวนการจัดการเพื่อการบำบัดน้ำเสีย มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 431 การตลาดของอาหาร 2 หน่วยกิต
FD 431 Food Marketing

วิชาบังคับก่อน : ได้รับอนุมัติจากผู้บรรยาย
ความหมายและแนวคิดทางการตลาด ประเภทของตลาดและคู่แข่ง ปัจจัยทางพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ส่วนประสมทางการตลาด การวางแผนและกลยุทธ์ทางการตลาด การตลาดระหว่างประเทศ การวิจัยตลาด กรณีศึกษาการตลาดของอาหารประเภทต่างๆ มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง)

กอ. 432 การจัดการโรงงานผลิตอาหาร 2 หน่วยกิต
FD 432 Food Plant Management

วิชาบังคับก่อน : ได้รับอนุมัติจากผู้บรรยาย
การออกแบบการวางผังโรงงานเพื่อผลิตภาพและสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ดี กฎหมายโรงงานและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง การอนุรักษ์พลังงาน ความรู้ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการประยุกต์ใช้เพื่อการวางแผนการ ดำเนินงาน การควบคุม การติดตามผลการผลิตอาหารตั้งแต่วัตถุดิบ จนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จ การวางแผนด้านคุณภาพ ด้านกำลังคน ด้านกำลังเงิน และด้านการพัฒนาเทคโนโลยีในเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับยุคสมัย พร้อมกรณีศึกษา (บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง)

กอ. 436 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 3 หน่วยกิต
FD 436 Food Product Development

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.341
ความสำคัญของงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและ ผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการสร้างและคัดเลือกแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ การกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยใช้เทคนิคการพัฒนาสูตร กระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม การทดสอบผลิตภัณฑ์และการทดสอบกับผู้บริโภค การทดสอบอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ การทดสอบตลาดและเทคนิคการออกสู่ตลาด มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 446 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ผลไม้และผัก 3 หน่วยกิต
FD 446 Fruit and Vegetable Product Technology

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.341 และ กอ.371
สรีรวิทยาของผักและผลไม้ องค์ประกอบทางเคมีและสมบัติที่มีผลต่อลักษณะปรากฏ 
การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาผักและผลไม้ประเภทต่างๆ การแปรรูปแบบอุตสาหกรรม การเสื่อมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือทิ้ง มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 447 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ 3 หน่วยกิต
FD 447 Meat Product Technology

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.341 และ กอ.371
โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่ คุณภาพของเนื้อสัตว์ การเสื่อมคุณภาพ และการถนอมรักษาผลิตภัณฑ์ การแปรรูประดับพื้นบ้านและระดับอุตสาหกรรม การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือทิ้ง มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 448 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว 3 หน่วยกิต
FD 448 Cereal and Legume Product Technology

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.341 และ กอ.371
โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของธัญพืช โดยเฉพาะข้าว ข้าวโพดและข้าวสาลี และพืชตระกูลถั่วโดยเฉพาะถั่วเหลือง ถั่วเขียวและถั่วลิสง ลักษณะและคุณภาพของธัญพืชและพืชตระกูลถั่วที่ใช้ในการแปรรูป การแปรรูปเป็นแป้งและผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ การเก็บรักษาและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือทิ้ง มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 449 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นม 3 หน่วยกิต
FD 449 Dairy Product Technology

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.341 และ กอ.371
สมบัติและการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาของนม และองค์ประกอบของนม การเสื่อมเสียและการเก็บรักษา การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูป การเสื่อมคุณภาพของผลิตภัณฑ์นม การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือทิ้ง มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 456 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ขนมอบ 3 หน่วยกิต
FD 456 Bakery Technology 

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.371 
โครงสร้างและองค์ประกอบของแป้งสาลี หลักการโม่ข้าวสาลี สมบัติและหน้าที่ต่างๆ ของวัตถุดิบที่ใช้ในการทำขนมอบ ลักษณะทางกายภาพและเคมีของแป้งสาลี การคำนวณเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ขนมอบ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทำขนมอบ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยีสต์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผงฟู ผลิตภัณฑ์เพสตรี การเสื่อมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขนมอบ สุขลักษณะและการจัดรูปแบบโรงงานเบเกอรี่ มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 457 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประมง 3 หน่วยกิต
FD 457 Fishery Product Technology

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.341 และ กอ.371
ลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมี คุณภาพและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสัตว์น้ำตลอดจนการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ กรรมวิธีการแปรรูปสัตว์น้ำ เช่น การแช่แข็ง การบรรจุกระป๋อง การทำแห้ง ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์ประมงอื่น ๆ และผลพลอยได้ การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือทิ้ง การสุขาภิบาลโรงงานและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 458 เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร 3 หน่วยกิต
FD 458 Food Packaging Technology 

วิชาบังคับก่อน : ได้รับอนุมัติจากผู้บรรยาย
ชนิดของบรรจุภัณฑ์ สมบัติทางกายภาพและเคมีของวัสดุที่นำมาทำบรรจุภัณฑ์ ระบบบรรจุภัณฑ์ การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ การทำนายอายุการเก็บรักษาอาหารในบรรจุภัณฑ์ การตรวจสอบคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ เครื่องบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ 
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 476 พิษวิทยาเบื้องต้นของอาหาร 3 หน่วยกิต
FD 476 Fundamental of Food Toxicology

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา ทช.282
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารพิษ สารพิษในสิ่งแวดล้อม การเข้าสู่ร่างกายของสารพิษ การเกิดพิษ สารพิษที่พบในอาหารตามธรรมชาติ สารพิษในพืช ในสัตว์ และสารพิษจากจุลินทรีย์ สารเคมีที่ก่อ
พิษที่ใช้ในอุตสาหกรรมและการเกษตร สารเจือปน สารตกค้าง และสารปนเปื้อนในอาหาร การประเมินความเป็นพิษและความปลอดภัยของอาหาร
(บรรยายสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

รายวิชาเชิงวิจัยและโครงการ

กอ. 491 การฝึกงาน ไม่นับหน่วยกิต
FD 491 Field Training

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.321, กอ.342 และ กอ.372
นักศึกษาต้องผ่านการฝึกงานในหน่วยงานหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ภาควิชาฯ เห็นสมควรอย่างน้อย 300 ชั่วโมง เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในสาขาวิชา และฝึกเตรียมตัวสำหรับการเป็นนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การประเมินผลจะกระทำโดยดูจากการประเมินของหน่วยงานหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ ให้การฝึกนักศึกษา ร่วมกับรายงานที่นักศึกษาต้องนำส่งหลังเสร็จสิ้นการฝึกงาน วัดผลด้วยระดับ S หรือ U

กอ. 492 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 1 หน่วยกิต
FD 492 Seminar in Food Science and Technology

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา กอ.321, กอ.342 และ กอ.372
การศึกษาหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โดยค้นคว้าและเขียนรายงาน แล้วนำเสนอโดยการบรรยายและสรุป เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และตอบข้อซักถาม 
(สัมมนาสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง)

กอ. 493 ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 3 หน่วยกิต
FD 493 Special Problems in Food Science and Technology

วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา ส.338, กอ.321, กอ.342 และ กอ.372
การกำหนดปัญหาและสมมติฐานของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การเขียนโครงร่างวิจัย การดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปและอภิปรายผลการทดลอง การเขียนรายงานและการเสนอผลงานวิจัย 
(บรรยายสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ปฏิบัติการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)

กอ. 496 หัวข้อพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 3 หน่วยกิต
FD 496 Special Topics in Food Science and Technology

วิชาบังคับก่อน : ได้รับอนุมัติจากผู้บรรยาย 
การศึกษาหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าและวิทยาการสมัยใหม่ทางด้านวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โดยหัวข้อเปลี่ยนไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้
(บรรยายสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง )